พูดถึงเบาหวานเชื่อว่าทุกๆคนน่าจะเคยได้ยินและรู้จักกันมาบ้างไม่มากก็ น้อย ซึ่งโรคเบาหวานนี้เกิดได้กับคนทุกวัยไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ และเป็นโรคที่เชื่อว่าเกิดจากความเสื่อมของร่างกายและสืบทอดได้ทางพันธุกรรม ความรุนแรงของโรคนั้นจริงๆแล้วไม่มาก แต่สิ่งที่เป็นปัญหาของหนักของผู้ป่วย คือ อาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นตามมาและบางอาการยากที่จะควบคุมได้
ความหมายของคำว่า ”เบาหวาน”
เบาหวาน มีที่มาจากคำว่า เบา + หวาน ซึ่งคำว่า
“เบา = ปัสสาวะ
หวาน = รสหวาน”
ดังนั้น คำว่าเบาหวานจะหมายถึง ปัสสาวะมีรสหวาน ซึ่งสื่อถึงปัสสาวะของผู้ป่วยเบาหวานที่มีรสหวานนั่นเอง
ในสมัยก่อนตอนที่การแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่เจริญมากนัก การที่แพทย์จะทราบได้ว่าผู้ป่วยมีอาการของเบาหวานจริงหรือเปล่า ? ทราบไหมครับว่าจำเป็นต้องทดลองชิมปัสสาวะของผู้ป่วยดู ซึ่งหากปัสสาวะมีรสหวานก็พอจะสรุปได้ว่าผู้ป่วยมีปัญหาเบาหวานจริงๆ
ประเภทของเบาหวาน
เบาหวานแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
- เบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดนี้พบในคนที่มีปัญหามาตั้งแต่กำเนิด กล่าวคือ ร่างกายหรือจะพูดให้ชัด คือ ตับอ่อนไม่มีความสามารถในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 1 นี้ มักจะมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง หากดูแลรักษาไม่ดีก็อาจจะถึงขั้นเสียชีวิตได้ง่าย
- เบาหวานชนิดที่ 2 เบาหวานชนิดนี้เป็นเบาหวานที่เกิดขึ้นกับคนภายหลัง ไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิด กล่าวคือ ร่างกายของคนไข้จะมีอาการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ร่างกายจึงไม่สามารถส่งผ่านน้ำตาลในกระแสเลือดที่เกิดจากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์ได้ ทำให้ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือเรียกว่าภาวะเบาหวานนั่นเอง (พอน้ำตาลในเลือดสูงร่างกายจะขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะทำให้ปัสสาวะมีรสหวาน)
*** ในบทความนี้เราจะพูดถึงคนที่มีปัญหาเบาหวานชนิดที่ 2 เท่านั้น
รู้จักกับฮอร์โมนอินซูลิน
อินซูลินเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากตับอ่อน มีหน้าที่ในการส่งผ่านน้ำตาลในกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย และคอยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติตามการสั่งการของต่อมใต้ สมอง อินซูลินมีความเกี่ยวข้องกับเบาหวานอย่างไร ? ลองดูต่อไป
การเกิดภาวะเบาหวาน
ภาวะการเกิดเบาหวานเกิดจากการที่ร่างกายของผู้ป่วยมีอาการที่เรียกว่า ดื้อต่ออินซูลิน ดังที่ได้อธิบายเกี่ยวกับอินซูลินไปบ้างแล้วว่า อินซูลินเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ใช้ควบคุมระดับของน้ำตาลในเลือดให้อยู่ใน ระดับปกติอยู่เสมอ

ตำแหน่งของตับอ่อน
โดยปกติมนุษย์เราต้องการบริโภคอาหาร เพื่อการให้ร่างกายมีพลังงานในการดำรงชีวิต อาหารที่ทานเข้าไปก็จะมีหลากหลายตามแต่ที่แต่ละคนจะทานเข้าไป ซึ่งหนึ่งในนั้นของหนีไม่พ้นอาหารจำพวก แป้ง น้ำตาล ซึ่งหลังจากที่ร่างกายได้รับอาหารพวกนี้เข้าไปแล้ว ก็จะเปลี่ยนแป้งและน้ำตาลเหล่านี้เป็นกลูโคส เพือให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้อย่างเป็นปกติ หลังจากทานอาหารแล้วน้ำตาลในเลือดจะมีระดับที่สูงขึ้นมากกว่าระดับปกติ เมื่อน้ำตาลในร่างกายสูงขึ้น ร่างกายจะพยายามควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติด้วยการสั่งให้ตับอ่อน หลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมา เพื่อควบคุมระดับน้ำตาล จนกระทั่งอยู่ในระดับที่เป็นปกติ
ร่างกายของคนปกติ จะตอบสนองต่ออินซูลินได้ดี คือ เมื่อตับอ่อนทำการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดจะค่อยๆลดลงจนอยู่ในระดับปกติ แต่ในทางตรงข้ามร่างกายของผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจะตอบสนองต่ออินซูลินได้ น้อย กล่าวคือ ถึงแม้ตับอ่อนจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมามากเพียงใด ระดับน้ำตาลในเลือดก็ยังสูงไม่เข้าสู่ในระดับปกติอยู่ดี
เมื่อร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินน้อย ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะยังสูงกว่าปกติ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดไม่เข้าสู่ภาวะปกติ ตับอ่อนก็จะทำการหลั่งอินซูลินเพิ่มเรื่อยๆส่งผลให้ตับอ่อนทำงานหนักมาก หากภาวะน้ำตาลในเลือดยังสูงกว่าปกติอยู่ ตับอ่อนก็ทำงานแบบนี้ต่อไปเรื่อยจนถึงจุดหนึ่งที่ทำงานไม่ไหวก็จะเสียสภาพไป (เปรียบตับอ่อนได้กับเครื่องจักรที่ทำงานหนักจนไม่ได้หยุดพักและพังลงในที่ สุด)และทำงานได้น้อยลง (หลั่งอินซูลินได้น้อยลง) ส่งผลให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ลำบากและสูงกว่าระดับปกติมากๆ เรียกได้ว่า เข้าสู่ภาวะเบาหวานขั้นรุนแรง
อาการแทรกซ้อนของเบาหวาน
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นภาวะที่เป็นพิษกับร่างกายอย่างมาก กล่าวคือ ใครที่เป็นเบาหวาน มีความเสี่ยงที่ร่างกายจะเกิดอาการแทรกซ้อนได้มากมาย เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้อวัยวะทั่วร่างกายเกิดความ เสื่อมอย่างรุนแรง เนื่องจากภาวะแบบนี้จะสร้างสารอนุมูลอิสระจำนวนมากซึ่งเป็นโทษกับร่างกายและ อวัยวะ หลอดเลือด เส้นประสาทและเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย อาการแทรกซ้อนที่เราพบได้บ่อยมีดังนี้
- เป็นแผลแล้วหายยาก หรือจะเรียกว่า แผลเบาหวานก็ได้
- เบาหวานขึ้นตา ส่งผลให้มองเห็นไม่ชัดหรือถ้าเป็นมากอาจจะตาบอดได้
- เบาหวานลงไต ไตไม่สามารถกรองของเสียออกจากร่างกายได้เป็นปกติ และอาจเกิดภาวะไตวายได้
- เสื่อมสรรถภาพทางเพศ อวัยวะเพศไม่แข็งตัว
- เจ็บป่วยง่ายเพราะภูมิคุ้มกันต่ำ
- เส้นโลหิตเปราะไม่แข็งแรง เสี่ยงต่ออาการเส้นโลหิตแตกได้
- ความดันโลหิตสูง
- และอื่นๆอีกมากมาย
สาเหตุของเบาหวาน
ทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคเบาหวาน ทราบเพียงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานเท่านั้น
- กรรมพันธุ์ บุคคลที่มีพ่อแม่หรือญาติที่ป่วยเป็นเบาหวาน มีโอกาสที่จะเป็นเบาหวานได้มากกว่าคนปกติ
- น้ำหนักมากหรืออ้วน คนที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนน้ำหนักตัวปกติ
- อายุ อายุที่มากขึ้นมักจะมากขึ้นหมายถึง ร่างกายที่อ่อนแอและทรุดโทรมลง ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีอายุค่อนข้างมากแล้ว
- ผู้ที่มีอาการความดันโลหิตสูง
- ผู้ทีมีอาการไขมันในเลือดสูง
- สตรีที่มีประวัติว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- สตรีที่เคยคลอดบุตรน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม
มองโดยภาพรวม คือ ผู้ที่มีปัจจัยหรือมีอาการดังกล่าวข้างต้น มีโอกาสที่จะเป็นเบาหวานหรือมีอาการดื้อต่ออินซูลินได้มากกว่าคนปกติ
เนืองจากเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายที่รักษาไม่หายขาด การรักษาจะเน้นไปที่
- การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ
- การรักษาระดับไขมันในเลือดให้เป็นปกติ
- การรักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติ
ถ้าเราสามารถดูแลร่างกายได้ตามเงื่อนไขก็จะสามารถอยู่กับเบาหวานได้อย่างเป็นปกติสุข
ทั้งนี้ทั้งนั้นการควบคุมเบาหวานให้ได้ผลต้องมีปัจจัยเสริมต่อไปนี้ด้วย กล่าวคือ
- การออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนัก คนที่น้ำหนักน้อยมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวานน้อยกว่าหรือรุนแรงน้อยกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวมาก
- การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ทานอาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
- หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าสูบบุหรี่ เพราะการดื่มเหล้าสูบบุหรี่เป็นการสร้างสารอนุมูลอิสระในร่างกายและทำให้ ร่างกายอ่อนแอ เกิดอาการแทรกซ้อนของเบาหวานได้ง่ายขึ้น
สรุป
สมุนไพรหมอเส็งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลรักษาสุขภาพของผู้ป่วยเบา หวานได้ ขอเพียงให้ทานยาอย่างต่อเนื่องและตั้งใจก็จะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ด้วยตน เอง อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบอื่นๆในการดูและเบาหวานก็เป็นเรื่องจำเป็น เช่น การควบคุมน้ำหนัก การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย ล้วนแล้วแต่มีส่วนช่วยให้ร่างกายรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเป็นปกติ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานสำหรับคนทั่วไปอีกด้วย