ปวดประจำเดือนประจำทำอย่างไร ?

การมีประจำเดือนเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของผู้หญิง ซึ่งหมายถึง การเจริญเติบโตทางร่างกายที่พร้อมสำหรับการมีลูกหรือพร้อมที่จะสืบพันธุ์ ประจำเดือนนั้นเกิดจากการสลายตัวของผนังมดลูก ที่เตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนภายหลังการมีเพศสัมพันธ์

อาการปวดประจำเดือน

ปวดบริเวณท้องน้อยหรืออุ้งเช้งกราน อาจรวมไปถึงอวัยวะอื่นๆ เช่น หลัง เอว ก้นกบ ต้นขา

ประเภทของการปวดประจำเดือน

1. การปวดประจำเดือนที่เกิดจากตัวมดลูกเอง

อาการที่พบ

  • ปวดเพียงเล็กน้อยพอรู้สีก (แบบนี้ถือว่าปกติ)
  • ปวดจนผิดปกติเนื่องจากมดลูกบีบตัวมากเกินไป
  • หากปวดกลางรอบเดือน อันเนื่องมาจากการตกไข่ อาจมีอาการปวดน้อยๆหรือปวดมากก็ได้
  • อาจมีอาการไข้ ครั่นเนื้อ ครั่นตัว
  • เต้านมคัดตึง
  • ปวดบริเวณบั้นเอว
  • อารมณ์หงุดหงิด นอนไม่หลับ
  • เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงระหว่างรอบเดือน

2. การปวดประจำเดือนที่เกิดจากสาเหตุอื่น

อย่างเช่น โรคผนังมดลูกงอกผิดที่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดที่ทำให้ปวดประจำเดือนมากๆ โรคนี้ที่ชอบเรียกกันติดปากว่า “พังผืด” ที่จริงพังผืดเป็นแค่ร่องรอยของโรคนี้เท่านั้น ชื่อของโรคนี้คือ เอ็นโดเมททริโอสิส (ENDOMETRIOSIS) ฝรั่งเรียกกันสั้นๆว่า “เอ็นโด” หรือ โรคผนังมดลูกงอกผิดที่ คือ ผนังในโพรงมดลูกไปงอกอยู่ด้านนอกโพรงมดลูก เช่นไปงอกที่รังไข่ ปีกมดลูก ท่อนำไข่ ด้านหลังมดลูก ด้านล่างของมดลูก เส้นเอ็นของมดลูก ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ โดยผนังมดลูกที่งอกผิดที่นี้จะทำหน้าที่ เสมือนมีประจำเดือนเช่นเดียวกันในโพรงมดลูก นั่นคือเมื่อมีประจำเดือนมาก็จะมีประจำเดือนออกในช่องท้องด้วย ก็เกิดอาการปวดท้องขึ้นเพราะเหมือนมีเลือดออกในท้อง ต่อไปก็เกิดมีอาการอักเสบตามมา แล้วจะแห้งกลายเป็นแผล ซึ่งมักเรียกกันว่าพังผืด ในที่สุดพังผืดก็จะพันเกาะไปตามอวัยวะที่เลือดออก คล้ายๆใยแมลงมุม ทำให้อวัยวะต่างๆติดกันแน่นแบบถาวร อาการปวดเช่นนี้ทุกเดือนทำให้มีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ความผิดปกติในกรณีมักจะเป็นอาการปวดแบบฉับพลันทันทีทันใด หรืออาจจะปวดแบบเรื้อรังแล้วปวดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเราจะทราบว่าสาเหตุที่แท้จริงเกิดจากโรคใดต้องอาศัยการวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น

การรักษาและบรรเทาการปวดประจำเดือน

1. รับประทานอาหารต้านอาการปวดประจำเดือน เช่น ปลาทะเลน้ำลึกเพื่อเพิ่มโอเมก้า 3 ถั่วและธัญพืชต่างๆเพื่อเพิ่มแมกนีเซียม (เอาไว้ต่อสู้กับอาการปวด) และแคลเซียมเพื่อช่วยปรับระดับฮอร์โมน
2. การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือน เช่น ยากลุ่ม NSAID (ควรให้ยาก่อนการมีประจำเดือน 7 ~ 10 วัน)
3. ใช้ฮอร์โมนเพื่อรักษาความผิดปกติของประจำเดือน
4. การใช้ยาคุมกำเนิด ซึ่งมีส่วนประกอบคือ estrogen และ progesterone (มีผลข้างเคียง)
5. การใช้สมุนไพร อย่างเช่น ว่านชักมดลูก

ว่านชักมดลูกสมุนไพรแก้ปวดประจำเดือน

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของว่านชักมดลูก

  • มีสารออกฤทธิ์ลดการอักเสบ
  • ยับยั้งการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ
  • แก้ปวด
  • มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน

สรรพคุณว่านชักมดลูกของไทย

  • กระชับกล้ามเนื้อ
  • แก้ปวดประจำเดือน
  • แก้ประเดือนมาไม่ปกติ
  • เสริมหน้าอก
  • มดลูกพิการ
  • ใช้แทนการอยู่ไฟ

ถึงแม้ว่าว่านชักมดลูกจะมีสรรพคุณหรือฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เป็นประโยชน์มากมายก็จริง แต่ในความเป็นจริงแล้วการที่จะใช้ว่านชักมดลูกในการแก้ปัญหาการปวดประจำเดือนให้ได้ผลนั้น ต้องอาศัยการปรุงเป็นสูตร โดยใช้สมุนไพรอื่นๆหลายชนิดร่วมกับว่านชักมดลูก ซึ่งผู้ผูกตำรับต้องมีความชำนาญเป็นอย่างมาก

หมอเส็งเป็นบุคคลท่านหนึ่งที่มีประสบการณ์ทางด้านการปรุงยาสมุนไพรมาเป็นเวลามากกว่า 40 ปี ยาที่ท่านได้สร้างสรรค์และช่วยบรรเทาปัญหาเรื่องการปวดประจำเดือนได้ดี คือ “สมุนไพรว่านชักมดลูกสูตรหมอเส็ง”

สมุนไพรว่านชักมดลูกสูตรหมอเส็งช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือนได้ดีแค่ไหน? พิสูจน์ด้วยตัวคุณเอง! ดีที่สุด