ยาหมอเส็งกับความดันโลหิตสูง

ช่วงที่กำลังเขียนบทความนี้เป็นช่วงที่กระทรวงสาธารณสุขของไทยกำลังรณรงค์ให้คนไทยหันมาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยด้วยโรค NCDs (Non Communicable Diseases) หรือเรียกว่า “โรคที่เราสร้างเอง” เพราะเป็นโรคที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตต่อปีมากที่สุด ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงก็เป็นหนึ่งในโรค NCDs ยอดนิยมของประชาชนไทย ในฐานะตัวแทนผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์หมอเส็ง ผมก็เลยอยากจะให้ข้อมูลกับคนทั่วไปในเรื่องนี้บ้างเพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้ผลิตภัณฑ์และมีทางเลือกในการรักษาด้วยแพทย์ทางเลือก

โดยทั่วไปแล้ว คนเราเวลาเจ็บป่วยมักจะพูดถึงโรคความดันโลหิตสูงในชื่อแต่เพียงสั้นๆว่า “โรคความดัน” โดยเข้าใจตรงกันว่าหมายถึงโรคความดันโลหิตสูงนั่นเอง ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้วโรคความดันผิดปกติมีได้ทั้งแบบที่เรียกว่า ความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำกว่าปกติ

ดังนั้น ถ้าเราพูดถึงโรคความดันโลหิต อาจหมายถึง ความโลหิตสูงซะเป็นส่วนใหญ่แต่ก็มีบ้างที่หมายถึงความดันโลหิตต่ำ

 

บทความเรื่องนี้ไม่ได้เน้นทฤษฎีหรือตัวเลขอะไรมากนัก ถ้าท่านคิดว่าต้องการทราบรายละเอียดเกียวกับเรื่องโรคความดันโลหิตสูงแบบเชิงลึกเชิญได้ที่ลิ้งค์นี้ ข้อมูลโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง

อาการ

โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีอาการความดันโลหิตสูงจะมีอาการปวดศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณท้ายทอย มีเสียงดังหึ่งๆในหู หน้ามืด เป็นลม แต่ถึงแม้ว่าจะมีอาการเหล่านี้ก็ไม่สามารถสรุปได้ทันทีว่ามีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง ต้องได้รับการวินิจฉัยและสรุปจากแพทย์เท่านั้น

สาเหตุ

ความดันโลหิตสูงแบ่งได้สองประเภท คือ

  1. ความดันโลหิตสูงแบบปฐมภูมิ คือ อาการความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นแบบไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
  2. ความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ คือ อาการความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นแบบที่ทราบสาเหตุแน่ชัด โดยทีสาเหตุนั้นเกิดจากความเจ็บป่วยด้วยโรคชนิดต่างๆ เช่น โรคไต โรคคุชชิ่ง โรคหลอดเลือดไต โรคต่อมหมวกไต โรคระบบต่อมไร้ท่อ การใช้ยาบางประเภท สตรีที่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยจำนวน 90-95% ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมดจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงแบบปฐมภูมิ คือ ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ทางการแพทย์ก็พอจะระบุได้ว่าเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการกินอยู่หลับนอนพักผ่อนออกกำลังกายที่ขาดความสมดุลและผิดปกติไปจากนาฬิกาชีวิตอย่างมาก

โรคแทรกซ้อน

เนื่องจากภาวะความดันโลหิตสูงจะทำให้หลอดเลือดในร่างกายแข็งตีบตันและมีโอกาสแตกได้ จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้กับอวัยวะทั่วร่างกาย

  • โรคหัวใจ เนื่องจากในภาวะความดันโลหิตสูง หัวใจต้องทำงานหนักเพื่อสูบฉีดโลหิต หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจโตและเกิดภาวะหัวใจวายได้ในภายหลัง
  • โรคไต เนื่องจากหลอดเลือดที่แข็งและตีบตันส่งผลให้เลือดไม่สามารถวิ่งไปเลี้ยงที่ไตได้อย่างปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรัง
  • โรคตา เนื่องจากหลอดเลือดในตาเสื่อมจากภาวะความดันโลหิต จะทำให้การมองเห็นค่อยๆแย่ลง จนถึงขั้นตาบอดได้
  • โรคสมอง เส้นเลือดในสมองอาจแตกส่งผลให้เกิดภาวะอัมพาตได้

การป้องกันและแนวทางปฏิบัติของผู้ป่วย

1. เลือกทานอาหารให้เป็น

ฟังดูเป็นเรื่องง่ายๆเลือกทานอาหารใครๆก็ทำได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วสิ่งที่ง่ายที่สุดนี่แหละเป็นสิ่งทีคนทั่วไปละเลย จนไม่สบายกันเยอะแยะแล้ว

หลักในการเลือกทานอาหารของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีดังนี้

  • งดการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ มีงานวิจัยมากมายที่ออกมาชี้อย่างชัดเจนว่า การดื่มเหล้าและการสูบบุหรี่ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
  • งดการทานอาหารเค็ม เพราะอาหารรสเค็มมีผลต่อไต ถ้าไตเสื่อมหรือทำงานได้ไม่ดี จะส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงตามมา
  • งดทานอาหารหวานและมัน เพราะอาหารหวานๆมันๆให้พลังงานสูง หากทานในปริมาณที่มากจนเกินไป นอกจากจะทำให้เกิดภาวะน้ำหนักตัวเกินมาตราฐานแล้ว ยังทำให้เกิดภาวะไขมันชนิดเลว (LDL) และไตรกลีเซอไรด์สูง ส่งผลให้หลอดเลือดมีตะกรันไขมันจับอยู่ ซึ่งมีผลให้เกิดอาการความดันโลหิตสูง
  • กินอาหารให้เป็นเวลา อาหารเช้าได้ชื่อว่าเป็นมื้อแห่งชีวิต ใครตื่นเช้ามากินอาหารเช้าได้ถือว่าร่างกายได้รับประโยชน์สูงสุดกว่าการกินอาหารมื้อไหนๆพูดถึงเรื่องอาหารเช้า หลายๆคนบอกว่า “ก็กินนะ กินทีเดียวรวบมื้อเช้ากับมื้อเที่ยง” ท่านทราบไหมว่า การทานอาหารเช้ารวบกับมื้อเที่ยง (หรือจะเรียกว่าไม่ทานอาหารเช้าก็ได้) ในระยะยาวจะทำให้ระบบการเผาผลาญทำงานผิดปกติและจบลงด้วยภาวะความเจ็บป่วยที่เรียกว่า โรคเบาหวาน ทีนี้… ถ้าเราเริ่มมีปัญหาเบาหวานมากยิ่งขึ้น หลอดเลือดในร่างกายของเราจะแข็งขาดความยืดหยุ่นและอ่อนแอ สิ่งที่จะตามมาคือ โรคความดันโลหิตสูง เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงทั้งเบาหวานและความดัน เราควรทานอาหารเช้าให้ตรงเวลา โดยแนะนำให้ทานในช่วง 7.00 – 9.00 เสมอเป็นประจำทุกวัน (ผู้เขียนยังทำไม่ค่อยจะได้เลย 555 แต่พยายามอยู่)

2. เลือกออกกำลังกายให้เป็น

ผู้ที่ต้องการออกกำลังกายเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เชิญเลือกออกได้ตามสบายครับ จะวิ่ง เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ ยกน้ำหนัก ชกมวย เตะบอล ได้ทุกประเภทตามใจปราถนาเพราะร่างกายของคุณปกติ

แต่ในทางหนึ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้วต้องเลือกการออกกำลังกายอย่างระมัดระวัง เพราะมักไม่ได้ป่วยเป็นโรคเดียว มักมีโรคแทรกซ้อนและร่างกายไม่ได้เหมาะกับการออกกกำลังกายทุกประเภท

ตามความเห็นของผู้เขียนการออกกำลังกายสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรจะเป็นกีฬาที่

  • ช่วยฝึกการหายใจและความยืดหยุ่นของร่างกาย
  • ออกแล้วอัตราการเต้นของหัวใจไม่สูงมากเกินไป

ตัวอย่างกีฬาที่แนะนำ

  • โยคะ
  • ว่ายน้ำ
  • วิ่งจ๊อกกิ้ง
  • ปั่นจักรยาน
  • เดินเร็ว
  • ตีแบต
  • เล่นเทนนิส

ในส่วนของการยกน้ำหนักหรือการใช้ยกเวต ผู้เขียนแนะนำให้ลองปรึกษาแพทย์ก่อนการออกกำลังกายประเภทนี้เนื่องจากว่าเป็นกีฬาที่ค่อนข้างใช้พละกำลังมาก ประกอบกับทำให้เกิดความเครียดและความดันเพิ่มสูงขึ้นขณะออกกำลังกายด้วย

โดยทั่วไปแล้วเวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ 30 – 45 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน แนะนำให้ใช้เวลาที่พอดีกับร่างกายของเรา เวลาที่พอดีคือ ออกเสร็จแล้วไม่เหนื่อยเกินไปและร่างกายรู้สึกสบาย นอนหลับดี เวลาที่เหมาะสมตามหลักแพทย์ทางเลือกในการออกกำลังกาย คือ ช่วงเช้า

3. เลือกพักผ่อนเป็น

ผู้เขียนเชื่อว่าทุกๆคนเคยได้ยินหลักในการนอนให้สุขภาพดีกันบ่อยๆว่า นอนพักผ่อนให้เพียงพอได้อย่างน้อยวันละ 6-8 ชม. ส่วนใหญ่เชื่อว่าทุกคนนอนได้ชั่วโมงตามนี้แหละ อ้าว! แล้วจะมีปัญหาสุขภาพได้อย่างไร ?

ถามนิดนึงว่า มีใครเคยอดนอนกลางคืนแล้วมานอนกลางวันบ้าง ? ต้องมีหลงเข้ามาอ่านบทความบ้างหละ 555 ถามต่อว่า นอนกลางคืนตื่นกลางวันกับนอนกลางวันตื่นกลางคืน อันไหนรู้สึกดีกว่ากัน ? เดาว่าคงมีคนตอบทั้งสอบแบบ แต่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่จะต้องบอกว่า นอนกลางคืนตื่นกลางวันดีกว่าเป็นไหนๆ เพราะอะไร ?

เพราะร่างกายของคนเรามีตารางเวลาในการทำงานหรือมีนาฬิกาชีวิต

พูดกันง่ายๆแบบชาวบ้านเลย คือ ถ้าถึงเวลากินเราก็ควรกิน ถึงเวลาขับถ่ายเราก็ควรขับถ่าย ถึงเวลาออกกำลังกายเราก็ควรออกกำลังกาย ถึงเวลานอนเราก็ควรนอน ถ้าเราไม่ทำตามตารางเวลาทำงานของร่างกาย ประมาณว่าฉันเก่ง ฉันฝืนได้ ฉันอึด ฉันอดทน จะจบลงด้วยคำว่า ฉันป่วย T_T

คนที่เป็นความดันโลหิตสูงมักเป็นพวกนอนไม่เป็นเวลา และมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ “นอนดึกตื่นสายกินข้าวมื้อแรกตอนบ่าย ขับถ่ายไม่เป็นเวลา กินอาหารเย็นเป็นดึก” แบบนี้วนไปเรื่อยๆเป็นเวลาหลายๆปี สุดท้ายก็เป็นความดันโลหิตสูงแถมพ่วงด้วยโรคเบาหวานด้วย

อ่านดูก็อาจจะขำๆแต่พอเป็นแล้วไม่ขำต้องกินยาเป็นกำไปตลอดชีวิต น่ากลัวจะตายไป!

คนเราถ้านอนไม่เป็นเวลาร่างกายจะไม่สามารถฟื้นฟูและซ่อมแซมส่วนที่สีกหรอได้เต็มที่ ถ้าอายุยังน้อยเรื่องพวกนี้จะยังเห็นไม่ชัดหรือไม่ค่อยมีผล แต่ถ้าอายุเริ่มมากสิ่งที่เราทำไม่ดีกับร่างกายไว้มันจะค่อยๆเผยออกมาทีละอย่างๆ

เวลาที่เหมาะสมกับการนอนคือ ก่อน 5 ทุ่ม เพราะช่วง 23.00 – 3.00 เป็นช่วงทีร่างกายซ่อมแซมตัวเอง ใครไม่นอนในช่วงนี้ขาดทุนด้านสุขภาพมาก แถมด้วยความแก่ชราที่จะมาเยือนไวกว่าปกติ เชื่อสิ

4. เลือกที่จะไม่เครียด

ความเครียดเป็นบ่อเกิดของโรคทุกชนิด เพราะเวลาเครียดร่างกายของคนเราจะหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมา ซึ่งส่งผลให้ร่างกายมีความดันโลหิตสูงขึ้นและหัวใจเต้นแรงขึ้นชั่วคราว ทางการแพทย์ยังสรุปไม่ได้แน่ชัดว่าความเครียดเกียวข้องกับโรคความดันโลหิตสูงโดยตรงหรือไม่ ? บอกได้แต่เพียงว่า ถ้าเราเครียดบ่อยๆจะมีผลเสียกับอวัยวะภายในเช่น หลอดเลือด ไต หัวใจ และส่งผลให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ในภายหลัง

หากเราไม่อยากให้มีความเครียดมากเกินไปต้องย้อนกลับไปอ่านข้อ 1, 2 และ 3 รวมถึงหาวิธีคลายเครียดที่เหมาะกับเรามากทีสุด เช่น

  • ออกไปเที่ยวธรรมชาติทะเล ภูเขา เกาะ
  • ดูหนังฟังเพลง
  • ออกกำลังกาย (เห็นไหมย้อนกลับไปข้อ 2)
  • กินอาหารเพื่อสุขภาพ (เห็นไหมย้อนกลับไปข้อ 1)
  • *ทำสมาธิ (อันนี้รู้สึกจะได้ผลมากที่สุด อยากรู้ไปลองทำดูเอง)

ยาหมอเส็งกับความดัน

ผู้เขียนเชื่อว่า สิ่งหลายๆค้นหาอยู่ คือ มีปัญหาความดันโลหิตสูงต้องกินใช้ผลิตภัณฑ์หมอเส็งตัวไหนดี ?

ดีหรือไม่ดี ? เหมาะหรือไม่เหมาะ ? ลองอ่านต่อ…

ถามก่อนว่ารู้แล้วหรือยังว่าตนเองมีปัญหาความดันโลหิตสูงแบบไหน ? จากหัวข้อที่กล่าวมาข้างต้น ความดันโลหิตสูงมีทั้งแบบทราบสาเหตุและไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แน่นอนว่าผลิตภัณฑ์หมอเส็งที่ใช้ย่อมมีโอกาสไม่เหมือนกันอยู่มาก

เห็นตัวแทนแนะนำยาบางทีก็เหนื่อยใจ เพราะไม่ค่อยมีความรับผิดชอบกันสักเท่าไหร่ ? จ่ายกันไปตามความรู้ความเข้าใจ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจ!

เอาเถอะ…ผลิตภัณฑ์หมอเส็งตัวหลักที่พอแนะนำให้ทานได้ก็มียาบำรุงร่างกายเบอร์ 2 เหมาะหรือเปล่า ? ผู้เขียนตอบไม่ได้ บอกได้แต่ว่าพอจะใช้ทานเป็นยาตัวหลักได้ ส่วนจะมียาตัวอื่นอีกไหม ? ต้องมาคุยกันอีกที เพราะแต่ละคนมีสาเหตุของความดันโลหิตสูงไม่เหมือนกัน ถ้าได้อ่านบทความมาตัังแต่ต้นก็จะเห็นว่าสาเหตุมีมากมาย 108 (ก็เว่อร์ไปนะ แต่ก็อยากให้ละเอียดรอบคอบกับร่างกายตัวเองนิดนึง)

อีกคำถามที่พบบ่อย คือ ทานยาความดันของโรงพยาบาลอยู่ทานคู่กับยาบำรุงร่างกายเบอร์ 2 ได้ไหม ? คำตอบคือ ได้

ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ ลองมาตรวจกับหมอเส็งดูก่อน อันนี้แนะนำเลยเพราะคุณหมอตรวจเองจ่ายยาเอง สบายใจกว่าเยอะ

สรุป

ถ้ามีปัญหาเรื่องความดันโลหิตสูง ถ้าจะแก้กันให้ได้แบบถาวรต้องแก้ที่พฤติกรรม เพราะทางการแพทย์เค้าพิสูจน์มาได้ระดับหนึ่งแล้ว และผู้เขียนก็ได้แนะนำวิธีต่างๆที่ดีต่อสุขภาพของท่านเอง ลองเอาไปทำดู ในส่วนของเรื่องยาหมอเส็งที่ใช้ จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยหรือการตรวจสุขภาพจากคุณหมอเส็งเพิ่มเติม เพื่อให้ได้รับยาที่ตรงกับประเด็นปัญหามากที่สุด หรือเบื้องต้นลองติดต่อเข้ามาคุยกันก่อนก็ได้

ลองทำให้ได้ทั้งการปรับพฤติกรรมและการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์หมอเส็งที่เหมาะสม ผลที่ได้ย่อมเป็นที่น่าพอใจอย่างแน่นอน!