มดลูกต่ำ โรคสตรีที่อันตราย

มดลูกเป็นอวัยวะที่สำคัญสำหรับการมีบุตรของคุณผู้หญิง ซึ่งสุภาพสตรีที่เคยผ่านการมีบุตรมาแล้วจะทราบดีว่ามีความสำคัญมาก ทุกครั้งที่มีบุตรหรือผ่านการคลอดบุตรการเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานย่อมเกิดขี้นอย่างหลีกเลี่ยงไมได้ และอาจนำไปสู่ภาวะที่มดลูกเกิดการหย่อน ยื่น หรือที่เราเรียกกันว่า มดลูกต่ำ นั่นเอง

 

จากการค้นหาข้อมูลหลายทางของผมพบว่ามีผู้หญิงจำนวนมากที่ป่วยเป็น มดลูกต่ำ ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลและเนื้อหาสาระที่คิดว่าเป็นประโยชน์เกี่ยวกับเรื่อง มดลูกต่ำ ให้ได้ศึกษากัน

มดลูกต่ำ คืออะไร ?

มดลูกต่ำ คือ ภาวะที่มดลูกเคลื่อนตัวต่ำลงมาในช่องคลอด หรือมีการหย่อนของผนังช่องคลอด ซึ่งเป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดจากความหย่อนยานของของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อบริเวณอุ้งเชิงกราน (อุ้งเชิงกรานหย่อนหรือกระบังลมหย่อน) ที่ทำหน้าที่ในการพยุงให้มดลูกสามารถวางตัวอยู่ในช่องเชิงกรานได้ ซึ่งภาวะมดลูกต่ำนี้มักจะเกิดขึ้นกับหญิงวัยกลางคนและหญิงสูงวัย

แสดงให้เห็นกันด้วยภาพ จากภาพด้านบนซ้ายมือ คือ ภาพของมดลูกที่อยู่ในสภาวะปกติส่วนภาพด้านขวาคือภาพแสดงอาการมดลูกต่ำ อาจจะต้องเรียนรู้คำศัพท์กันหน่อยเพื่อทำความเข้าใจ แต่ไม่ต้องเป็นห่วงครับผมได้รวบรวมไว้ให้แล้ว

uterus = มดลูก

rectum  = ไส้ตรง ที่อยู่ใกล้กับกับทวารหนักนั่นแหละครับ

vagina = ช่องคลอด

bladder = กระเพาะปัสสาวะ

urethra = ท่อปัสสาวะ

ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนนอกจากจะส่งผลให้เกิดภาวะมดลูกต่ำแล้วยังส่งผลเสียต่อไปนี้ด้วย

  1. ระบบปัสสาวะผิดปกติ เช่น หูรูดท่อปัสสาวะไม่สามารถเก็บปัสสาวะได้ ท่อปัสสาวะหย่อนทำให้ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ เป็นต้น
  2. ส่วนปลายของลำไส้หย่อน ส่งผลให้มีการยื่นของลำไส้ใหญ่เข้ามาในช่องคลอด
  3. ไส้เลื่อน เป็นภาวะที่มีการเลื่อนของลำไส้ส่วนบนลงมาในช่องคลอด

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน (กระบังลมหย่อน)

  1. มีบุตรมาแล้วหลายคน (ผ่านการคลอดบ่อย) เนืองจากการคลอดบุตรแต่ละครั้งจะมีการขยายของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆขณะคลอด
  2. มีอายุมากขึ้น ส่งผลให้หมดประจำเดือน และทำให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อน ไม่แข็งแรง เนื่องจากความเสื่อมไปตามอายุ
  3. ผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาก ช่องคลอดมีการใช้งานหนักมาก
  4. ไม่มีรังไข่ ทำให้ร่างกายของไม่มีฮอร์โมนเพศหญิง
  5. เคยมีการผ่าตัดอุ้งเชิงกราน หรือท่อปัสสาวะ
  6. มีน้ำหนักตัวมาก หรืออ้วนนั่นเอง
  7. ท้องผูกเป็นประจำ ต้องเบ่งอุจจาระเป็นเวลานาน
  8. ยกของหนักเป็นประจำ

อาการมดลูกต่ำ

ผู้ประสบภาวะมดลูกต่ำอาจจะมีอาการดังต่อไปนี้

  1. รู้สึกคับแน่นหรือบวมภายในช่องคลอด
  2. มีเลือดออกจากช่องคลอดเนื่องจากการเสียดสี
  3. ระบบปัสสาวะผิดปกติ อย่างเช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะคั่ง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  4. ระบบขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องอืด ท้องผูก ถ่ายอุจจาระลำบาก
  5. มีอาการตกขาว ซึ่งอาจเป็นลักษณะคล้ายกับหนองปนกับเลือด
  6. ปวดหลังเมื่อยืนทำงานแต่อาการจะหายไปเมื่อได้นอนพักผ่อน
  7. มีความรู้สึกเหมือนมีอะไรมาอยู่บริเวณปากช่องคลอดและอยากเบ่งก้อนนั้นให้หลุดออกมา ส่งผลให้ปวดหน่วงในช่องคลอด
  8. มีก้อนอะไรยื่นออกมาจากช่องคลอด พบในกรณีที่เป็นมานาน อาจจะเป็นส่วนของช่องคลอดเองและอาจจะเป็นส่วนของปากมดลูกที่ยื่นออกมา

การตรวจสอบตนเองว่าประสบภาวะมดลูกต่ำหรือไม่ ?

ความจริงเรื่องนี้ ดูภายนอกไม่รู้หรอกครับ ต้องอาศัยการสังเกตดูว่า ภายในช่องคลอดซึ่งปกติยาวประมาณ 3 นิ้ว หรือเมื่อลองเอานิ้วสอดเข้าไปจนสุดแล้ว ปลายนิ้วจึงอาจสัมผัสไปถึงปากมดลูกได้ แต่ถ้าใครสอดเข้าไปแค่ครึ่งนิ้ว หรือสัมผัสดูเหมือนมีอะไรห้อยย้อยลงมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าลองออกแรงเบ่งหรือไอแรงๆ ดู แล้วพบว่ายิ่งยื่นห้อยลงมาแล้วละก็ แสดงว่าต้องมีการหย่อนของกระบังลมเกิดขึ้นบ้างแล้วไม่มากก็น้อย รายที่เป็นมากอาจพบปัสสาวะเล็ดออกมาพร้อมกับเวลาไอด้วย และควรลองขมิบช่องคลอดดูด้วยว่ายังรู้สึกว่ามีผนังช่องคลอดมาบีบรัดนิ้วมือ อย่างกระชับแน่นหรือไม่ เพื่อประเมินความแข็งแรงของกลมเนื้อที่หย่อนเหล่านั้น – ส่วนนี้คัดลอกจาก thaihealth108.com โดย นพ.พูนศักดิ์ สุชนวณิช (สูตินรีแพทย์))

การรักษามดลูกต่ำ

เราจะใช้วิธีใดในการรักษาภาวะมดลูกต่ำนั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงหรือระยะของภาวะมดลูกต่ำที่ผู้ป่วยเป็นอยู่

  1. ถ้าเป็นไม่มาก (สังเกตได้จากการเริ่มมีปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม) เราสามารถฝึกการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยการ ขมิบ โดยการขมิบที่ถูกต้องก็เหมือนกับเวลาที่เรากลั้นอุจจาระ ให้ทำค้างไว้เป็นเวลา 5 – 10 วินาที ต่อครั้ง ปล่อยตัวตามสบายประมาณ 3 วินาทีแล้วขมิบใหม่ ทำเป็นเซต เซตละ 10 ครั้ง วันละ 10 เชต นับรวมได้ 100 ครั้งต่อวัน โดยที่เราสามารถทำการขมิบได้ทุกที่ทุกเวลาไม่ว่าจะนั่ง จะนอน ขับรถก็สามารถทำได้
  2. รักษาด้วยการผ่าตัด โดยการผ่าตัดจะมีอยู่สองรูปแบบ คือ การผ่าตัดเพื่อลดขนาดของช่องอวัยวะเพศหญิงหรือช่องคลอด ซึ่งจะช่วยพยุงมดลูกที่หย่อนไว้ แต่มีผลข้างเคียงหลังผ่าตัด คือ จะไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อีก หรืออีกรูปแบบ คือ การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อให้อุ้งเชิงกรานกลับมาแข็งแรงและรับกับน้ำหนักของมดลูกได้ดีขึ้น การทำผ่าตัดนั้นจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยอื่นๆของผู้ป่วยด้วย เช่น อาการที่แสดงออกมา อายุ ความสัมพันธ์ทางเพศ หรือความต้องการมีบุตร
  3. การรักษาด้วยการรับประทานยาสมุนไพรว่านชักมดลูก ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ยาสมุนไพรว่านชักมดลูกตำรับเดี่ยว (มีส่วนผสมของว่านชักมดลูกเท่านั้น)จะสามารถใช้รักษาได้ การใช้ยาสมุนไพรต้องใช้แบบตำรับหมู่ (มีส่วนผสมของสมุนไพรหลายชนิด) เท่านั้นจึงจะรักษาอาการมดลูกต่ำอย่างได้ผลจริง